เลือกรองเท้าเซฟตี้อย่างไรให้ปลอดภัย และใช้งานได้เหมาะสม

รองเท้าเซฟตี้ หรือ รองเท้านิรภัย คือหนึ่งในอุปกรณ์เซฟตี้สำหรับการทำงานที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งในบางครั้งการใช้งานรองเท้าธรรมดาไม่สามารถการันตีหรือให้ความปลอดภัยได้เท่าที่ควร เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำการเลือกรองเท้าเซฟตี้อย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ก็เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยทั้งต่อร่างกายและชีวิตของผู้ที่ต้องทำงานเสี่ยงภัยนั่นเองครับ

ก่อนที่เราจะทำการเลือกรองเท้าเซฟตี้สักคู่นั้น เราต้องรู้จักกับคำว่า “การประเมินความเสี่ยง หรือ Risk assessment ซะก่อน ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนี้จะช่วยให้เราทราบระดับของขอบเขตความเสี่ยงในการทำงานและการเลือกอุปกรณ์เฟซตี้สำหรับงานนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงการเลือกรองเท้าเซฟตี้ เพื่อให้การทำงานมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น

การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment

การเประเมินความเสี่ยง คือ การกำหนดความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมของการทำงานในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เราสามารถเลือกกำจัดหรือป้องกันอันตรายออกจากการทำงานได้ตามความเหมาะสมและรัดกุมที่สุด ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนั้นเราจะต้องทราบลักษณะของการทำงานหรือสถานที่ทำงานอย่างชัดเจน ไปจนถึงรายละเอียดขั้นตอนการทำงาน อุปกรณ์การทำงาน จากนั้นจึงทำการรวบรวมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการป้องกันแก้ไขซึ่งผ่านการทดสอบแล้วว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะลดความเสี่ยงนั้นๆ ลงได้ เช่น การกำจัดสาเหตุของความเสี่ยง, การควบคุมเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือการใช้งานอุปกรณ์เซฟตี้ เช่น หมวกนิรภัย หน้ากากกันสารเคมี หรือการเลือกใช้รองเท้านิรภัยและรองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะสม เป็นต้น

การเลือกรองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะสมกับงานที่มีความเสี่ยง

  1. เลือกใช้รองเท้าเซฟตี้หัวเหล็กและทรงหุ้มข้อที่ช่วยเพิ่มระดับการป้องกันบริเวณนิ้วเท้าและเพิ่มความกระชับในการสวมใส่ให้มากขึ้น
  2. พื้นรองเท้าเซฟตี้ที่เป็นยาง Nitrile ซึ่งจะเหมาะสำหรับการทำงานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง ทนทานต่อสสารประเภทน้ำมันและสารละลายได้ดี
  3. พื้นรองเท้าเซฟตี้ประเภท Polyurethane เหมาะสำหรับการทำงานทั่วไป มีคุณสมบัติทนทานต่อน้ำมันและสารละลายได้ดีเช่นกัน
  4. รองเท้าเซฟตี้ที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิต จะช่วยกระจายหรือทำให้ไฟฟ้าสถิตให้หายไป เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้าสถิตได้
  5. รองเท้าเซฟตี้ควรเคลือบหนังด้วยสารกันน้ำ สำหรับการใช้งานที่ต้องลุยน้ำหรือในการทำงานที่ต้องเจอน้ำเป็นครั้งคราว
  6. หากภายนอกรองเท้าเป็นวัสดุประเภท Micro-fibre (watt-out) จะดีมาก เพราะสามารถต้านทานสารเคมีและน้ำมันได้เป็นอย่างดี
  7. 7. ภายในอาจบุด้วยผ้า Cambrelle, Thinsulate หรือ Thermalite เพื่อความนุ่มสบายและนอกจากนี้ยังช่วยในด้านการควบคุมอุณหภูมิของเท้าได้ดีอีกด้วย
  8. ภายในส่วนบนของรองเท้าเซฟตี้ควรเคลือบสาร Gore-tex, Sympatex หรือเคลือบสารกันน้ำอื่นๆ เพื่อป้องกันน้ำซึมผ่าน

การเลือกรองเท้าเซฟตี้สำหรับการทำงานในสถานที่ที่ทมีความเสี่ยงนั้นไม่ใช่เรื่องยากแบบที่หลายๆ คนคิดครับ แค่เราเลือกรองเท้าเซฟตี้ที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และผลิตขึ้นจากวัสดุตามที่เราแนะนำไป เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มความมั่นใจในการทำงานที่มีความเสี่ยงได้แล้วครับ

Copyright © 2018 T-Evergreen International (Thailand) Ltd. All rights reserved.